รพ สัตว์ จุฬา

รพ สัตว์ จุฬา

หัวข้อแนะนำ

รพ สัตว์ จุฬา  โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้บริการทางการแพทย์เพื่อการรักษาสัตว์เลี้ยงอันได้แก่ สุนัข แมว สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงพิเศษอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาลประกอบด้วย หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินและหออภิบาลสัตว์ป่วยวิกฤต ศูนย์บริการโลหิตเพื่อสุนัขและแมว แผนกอายุรกรรมทั่วไปและเวชศาสตร์ป้องกัน แผนกคลินิกเฉพาะทาง แผนกศัลยกรรม หน่วยภาพวินิจฉัย แผนกสูติกรรม และแผนกชันสูตรโรคสัตว์ ซึ่งเปิดบริการทุกวัน และเปิดรับบัตรเวลา 7.00 – 11.30 น. และ 13.00 – 15.00 น. คลินิกนอกเวลา 17.00 – 20.00 น.ตั้งอยู่ที่เลขที่ 39 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 เป็นโรงพยาบาลสัตว์ในความดูแลของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการมาแล้วกว่า 69 ปีในปี พ.ศ. 2478 แผนกสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ใช้พื้นที่การเรียนที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2482 จึงย้ายไปที่ทุ่งพญาไท ใกล้กับโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งในขณะนั้นแผนกสัตวแพทย์ใช้เวลาเรียนเพียง 5 ปี และยังไม่มีการก่อตั้งโรงพยาบาลสัตว์เล็กแต่อย่างใด โดยในปีนั้น Dr. R. P. Jones ได้มาช่วยสอนสัตวแพทย์ จนมีสงครามเอเชียบูรพา ในปี พ.ศ.2484

ทางแผนกสัตวแพทย์ได้ย้ายใช้สถานที่เรียนของคณะเภสัชศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 แผนกสัตวแพทย์ได้ย้ายสังกัดไปอยู่กรมแพทยศาสตร์ เลื่อนฐานะขึ้นเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ และทำการเรียนการสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 2 ปี และที่ราชวิถีเป็นเวลา 3 ปี จนปี พ.ศ. 2490 ได้รับตึกเรียนและมีการเรียนการสอนที่ราชวิถีเช่นเดิม จนกระทั่งมีโรงพยาบาลสัตว์ขึ้น โดยมี Dr. R. P. Jones เป็นผู้ช่วยดูแลเรื่องการรักษาสัตว์จนปี พ.ศ. 2496 บริเวณที่ตั้งของคณะสัตวแพทย์ที่ราชวิถีถูกโอบล้อมด้วยศูนย์การแพทย์ จึงต้องย้ายคณะสัตวแพทย์มาอยู่ที่จุฬาซอย 12 หรือซอย 62 ในปัจจุบัน และมีโรงพยาบาลสัตว์ขึ้นที่นี่ โดยมี Dr. Jones ช่วยดูแลเช่นเดิมจนปี พ.ศ. 2497 คณะสัตวแพทยศาสตร์ถูกย้ายไปสังกัดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงเกษตร แต่เรียนที่ถนนอังรีดูนังต์ในช่วง 3 ปีสุดท้าย จนปี พ.ศ. 2498 หลักสูตรปรับเพิ่มขึ้นจาก 5 ปี เป็น 6 ปีในปี พ.ศ. 2502 คณะสัตวแพทยศาสตร์ถูกโอนไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จวบจนปี พ.ศ. 2510 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ ส่วนที่ตั้งอยู่ที่ปทุมวันกลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์กล่าวคือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสัตว์เล็กขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว และรับผิดชอบในส่วนการรักษาสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข แมว ไปจนถึงม้า โดยมี Dr. R. P.Jones เป็นที่ปรึกษาและดูแลการรักษาสัตว์ จนท่านถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2502 และ ศ.น.สพ.เตียง ตันสงวน ได้รับมอบหมาย ให้ดูแลกิจการการรักษาสัตว์ต่อมา จากนั้นได้มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่อมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน

สัตว์ทุกชนิดต้องการการดูแลรักษา รพ สัตว์ จุฬา

รพ สัตว์ จุฬา  เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและการดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ เรามีวิธีการดูแลสัตว์ดังนี้

สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ที่ดำรงชีวิตและอาศัยอยู่ในป่า ปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำวนลดลงมาก และใกล้สูญพันธุ์ เราจึงควรดูแลรักษาสัตว์ป่าดังนี้
1. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
2. รักษาสภาพแวดล้อมของป่าให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ตลอดไป
3. ไม่ล่าสัตว์ป่ามาเป็นอาหาร หรือนำอวัยวะอื่นๆมาขาย
4. ไม่ล่าสัตว์ จับสัตว์ในเขตหวงห้าม
5. เมื่อพบเห็นการล่าสัตว์ป่า หรือลักลอบสัตว์ป่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่

สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น เลี้ยงไว้เป็นอาหาร เลี้ยงไว้ใช้งาน เลี้ยงไว้ดูเล่น เรามีวิธีดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงของเราให้มีสุขภาพแข็งแรง ดังนี้
1. สร้างที่อยู่อาศัยที่สะอาด และปลอดภัยให้สัตว์เลี้ยง
2. ให้อาหารตามประเภทของสัตว์อย่างเพียงพอ
3. ให้ความรักและเอาใจใส่แก่สัตว์ที่เลี้ยงไว้
4. ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงและที่อยู่อาศัยอย่างสม่ำเสมอ
5. ฉีดวัคซีนและให้การรักษาเมื่อยามสัตว์เจ็บป่วย

อย่างไรก็ตาม การดูแลสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัยจาก PM 2.5 มีความแตกต่างกับมนุษย์อยู่บ้าง เนื่องจากสรีระที่แตกต่าง ระบบการทำงานในร่างกาย ดังนั้นจึงต้องดูแลและปกป้องให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ และพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวด้วยสำหรับใครที่กำลังกังวลว่าสัตว์เลี้ยงอาจได้รับฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นพิษต่างๆ ในช่วงที่ต้องเดินทางไกลระหว่างวันหยุดยาวสงกรานต์ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” สรุป 6 วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อดูแลสัตว์

ปรับสิ่งแวดล้อมในบ้าน ทำความสะอาดบ่อยๆ

ทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์บ่อยๆ เพื่อลดการสะสมของฝุ่น หรืออาจจะใช้การปลูกต้นไม้เพิ่มบริเวณที่สัตว์เลี้ยงอยู่ เลือกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศ และช่วยลดอุณหภูมิ ก็จะมีส่วนช่วยให้อากาศดีขึ้นได้ในช่วงที่สถานการณ์ฝุ่นยังรุนแรง ไม่นำสัตว์ออกไปในพื้นที่เสี่ยง เลี้ยงสัตว์ในบ้านที่อากาศปิดจะช่วยให้สามารถควบคุมสภาพอากาศได้ดีกว่าเครื่องฟอกอากาศเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการปรับคุณภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้นช่วงที่คุณภาพอากาศแย่ เลี่ยงการพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น หรือออกกำลังกายกลางแจ้งสัตว์แต่ละชนิดมีระบบหายใจต่างกัน และมีการตอบสนองต่อฝุ่นพิษต่างกันด้วย ดังนั้น คนเลี้ยงจึงต้องเฝ้าดูพฤติกรรมของสัตว์ว่าเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น เซื่องซึม ไม่แอคทีฟ เบื่ออาหาร ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นหรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันท่วงที  รพ สัตว์ จุฬา