สัตว์เลี้ยง

สัตว์ มีอะไรบ้าง

สัตว์ มีอะไรบ้าง

หัวข้อแนะนำ

สัตว์ มีอะไรบ้าง  ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางสภาพที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยในการขยายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ การที่มีสภาพที่อยู่อาศัยอย่างหลากหลาย เช่น ลักษณะป่าแต่ละพื้นที่ ลักษณะระบบนิเวศที่หลากหลาย จึงก่อให้เกิดความหลากหลายของสัตว์เช่นกันสัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ จำนวน ๙ ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และได้ให้สัตยาบัน

เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ นับเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๐ จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่หมายถึงสัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไข หรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ อย่างยิ่ง ๗ ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก ๑ ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม ๘ ชนิด รวมเป็น ๑๕ ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน

ความหลากหลาย

สัตว์ มีอะไรบ้าง  หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน โดยเกิดจากผลของการแสดงออกทางพันธุกรรมหรือยีนและกลุ่มสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กัน การแบ่งประเภทของสัตว์นั้นมีหลักเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่สัตว์ ตามโครงสร้างของร่างกายของสัตว์สามารถบ่งบอกถึงวิวัฒนาการและต้นกำเนิดของ สัตว์แต่ละชนิดได้ สัตว์ที่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึง กันหรือโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดมาด้วยกันจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงวิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของสัตว์จะอาศัยลักษณะของโครงสร้างของร่างกายเป็นหลัก โดยเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่าง รวมทั้งเปรียบเทียบการจัดเรียงตัว และการพัฒนาการต่างๆ

หลักการแบ่งสามารถแบ่งได้หลายประเภท

สัตว์ต่างชนิดกันย่อมมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน สัตว์บางชนิดมีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ม้า สิงโต ปลาฉลาม เป็นต้น ในพื้นที่เดียวกันก็อาจมีสัตว์ที่ขนาดเล็กมาก เช่น มด ยุง เห็บ ไร และยังมีรูปร่างที่ต่างกัน ทั้งจำนวนขา บางชนิดก็ไม่มีขา การเจริญเติบโตก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกความหลากหลายของสัตว์ได้ ดังนี้ สัตว์บางชนิด มีการเจริญเติบโตโดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง มีขนาดโตขึ้นเท่านั้น เช่น สุนัข แมว วัว แต่สัตว์บางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโตด้วย เช่น กบ ยุง ผีเสื้อ เป็นต้น นี้คือสิ่งที่บ่งบอกความหากหลายของสัตว์เพียงเบื้องต้นเท่านั้นนักวิทยาศาสตร์ ได้มีการจำแนกสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระดูกสันหลัก การสืบพันธ์ อุณหภูมิร่างกาย การหายใจ เป็นต้น

โดยการแบ่งประเภทสัตว์ที่เน้นให้ศึกษาได้ง่ายมักใช้เกณฑ์ของกระดูกสันหลังของสัตว์ในการแบ่ง

สามารถแบ่งออก ได้ ประเภทดังนี้ สัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ในกลุ่มมีกระดูกสันหลังมีลักษณะกระดูกที่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ ส่วนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกแข็งเป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อของร่างกายเจริญเป็นอวัยวะที่มีการทำงานซับซ้อน ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบก จัดว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง แบ่งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้ดังนี้

  • สัตว์พวกปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือก มีแผ่นปิดเหงือก มีครีบ บางชนิดมีเกล็ด บาง ชนิดไม่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลากระเบน ฉลาม ม้าน้ำ ฯลฯ
  • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นสัตว์เลือดเย็น ผิวหนังเปียกชื้น ไม่มีเกล็ด ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ หายใจ ด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นหายใจด้วยปอดและผิวหนัง อาศัยอยู่บนบก มี 4 ขา เช่น กบ อึ่งอ่าง คางคก จิ้งจกน้ำฯลฯ
  • สัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์เลือดเย็น ผิวหนังแห้ง ลำตัวมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วยปอด วางไข่บน บก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น เต่า จระเข้ กิ้งก่า จิ้งจก ฯลฯ

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ เป็นสัตว์ที่ไม่มี สัตว์ที่ไม่มีกระดูกแข็งเป็นแกนกลางภายในร่างกาย มักจะมีขนาดเล็ก ถ้ามีขาจะมีจำนวนขามาก และมีการเคลื่อนที่แตกต่างกัน แบ่งตามประเภทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้ดังนี้

  • พวกฟองน้ำ ลักษณะลำตัวมีโพรง มีรูพรุน สืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำ ฟองน้ำแก้ว ฯลฯ
  • พวกลำตัวกลวงหรือมีโพรง ลักษณะลำตัวคล้ายทรงกระบอกกลวง มีช่องเปิดออกจากลำตัวเพียงช่อง เดียว กลางลำตัวเป็นโพรง เป็นทางให้อาหารเข้าและกักอาหารออกจากลำตัว มีเข็มพิษไว้ ป้องกันตัวและจับเหยื่อ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศบางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ไฮดรา และบางชนิดอาศัยในน้ำเค็ม เช่น แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล ฯลฯ  สัตว์ มีอะไรบ้าง