กระแต สัตว์

กระแต สัตว์

หัวข้อแนะนำ

กระแต สัตว์  ชื่อสกุลของกระแตใต้คือ Tupaia มาจากคำว่า tupai ในภาษามาเลย์ แปลว่ากระรอก เนื่องจากกระแตรูปร่างคล้ายกระรอก ทั้งจมูกแหลม หางฟู ความแตกต่างจากกระรอกที่เห็นได้ชัดคือ กระแตใต้ไม่มีหนวดยาวแบบกระรอกกระแตดูเผิน ๆ คล้ายกระรอก แต่ไม่ใช่กระรอก และไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เคยเข้าใจว่ากระแตเป็นสัตว์จำพวกวานรหรือสัตว์กินแมลงดึกดำบรรพ์ แต่ในปัจจุบันกระแตจัดอยู่ในอันดับกระแต (order Scandentia) โดยเฉพาะกระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน กระแตในโลกมีทั้งสิ้น 19 ชนิด 5 สกุล ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมี 5 ชนิด ได้แก่ กระแตเหนือ กระแตใต้ กระแตจิ๋ว กระแตหางหนู และ กระแตหางขนนก

โดยทั่วไป กระแตที่อาศัยบนต้นไม้เป็นหลัก มักมีตัวเล็กกว่ากระแตที่หากินบนพื้นดินเป็นหลัก อีกทั้งยังมีหางยาวกว่า หน้าสั้นกว่า แตะมีดวงตาชี้ไปข้างหน้ามากกว่า ส่วนกระแตที่หากินบนพื้นดินมักมีหน้ายาว หางสั้นกว่า ดวงตาอยู่ค่อนไปทางข้างหัวมากกว่า และมีกรงเล็บที่พัฒนาดีกว่าพวกที่หากินบนต้นไม้ ส่วนกระแตใต้มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างกระแตทั้งสองกลุ่ม มีน้ำหนักเฉลี่ย 142 กรัม ความยาวหัว-ลำตัว 19.5 เซนติเมตร หางยาว 16.5 เซนติเมตรขนแน่น แนวสันหลังสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องสีค่อนไปทางน้ำตาลแดงอมส้ม มีแถบสีจางสั้น ๆ พาดที่หัวไหล่ตัวผู้และตัวเมียดูเหมือนกัน หูเล็ก ตำแหน่งลูกตาอยู่ค่อนไปทางข้างหัว เล็บตีนยาวแหลมกระแตใต้พบได้เฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น เขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอคอดกระลงไปจนถึงสิงคโปร์ ปีนัง เกาะสุมาตรา ชวาและเกาะข้างเคียง ชอบอาศัยอยู่ในป่าเต็งรังที่สุด แต่ก็ปรับตัวได้ดีกับที่อยู่อาศัยชนิดอื่น ๆ จึงพบได้ในป่าแทบทุกประเภท รวมถึงพื้นที่กสิกรรมหรือแม้แต่แมกไม้ใกล้บ้านคน

กระแตใต้หากินเวลากลางวัน กระแต สัตว์

กระแต สัตว์

กระแต สัตว์  กระแตใต้หากินเวลากลางวัน อาศัยทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ ส่วนใหญ่มักบนต้นไม้ต่ำกว่าระดับเรือนยอด เป็นสัตว์ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนที่ลุกลี้ลุกลนไปมาเกือบตลอดเวลา ตัวผู้มีอาณาเขตประมาณ 10,000 ตารางเมตร ตัวเมียมีอาณาเขตประมาณ 8,800 ตารางเมตร ตัวเพศเดียวกันมักมีอาณาเขตไม่ซ้อนเหลื่อมกัน และการต่อสู้ระหว่างเพศเดียวกันก็มักเกิดบริเวณพรมแดนของอาณาเขตแต่ละตัว ในไทยความหนาแน่นประชากรราว 600-1200 ตัวต่อตารางกิโลเมตร ในมาเลเซียประมาณ 200-500 ตัวต่อตารางกิโลเมตรกระแตใต้่สื่อสารกันด้วยเสียงและกลิ่น มีต่อมกลิ่นสองต่อม ต่อมหนึ่งอยู่ที่หน้าอก และอีกต่อมหนึ่งอยู่ที่ท้องน้อย กระแตจะถูต่อมนี้เข้ากับสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงกระแตตัวอื่น นอกจากนี้ยังใช้เยี่ยวและขี้ในการแสดงอาณาเขตอีกด้วย

กระแตใต้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการหาอาหารกิน ซึ่งส่วนใหญ่คือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ผลไม้ และใบไม้ หากินบนพื้นดิน เวลากินจะนั่งด้วยสองขาหลังแล้วใช้สองขาหน้าหยิบของกินเช่นเดียวกับกระรอก การกินผลไม้จะเลือกกินส่วนที่เส้นใยต่ำเพื่อให้ย่อยได้รวดเร็ว การเลือกกินในลักษณะนี้เป็นพฤติกรรมที่พบในค้างคาวกินผลไม้เช่นกันกระแตใต้เป็นสัตว์ผัวเดียวเมียเดียว เมื่อจับคู่แล้ว ก็จะหากินด้วยกันและใช้พื้นที่เดียวกันตลอดชีวิต ยกเว้นเพียงกระแตใต้ที่อยู่ในสิงคโปร์ที่มีพฤติกรรมการครองคู่ต่างกันออกไป ที่นั่นตัวผู้บางตัวใช้อาณาเขตครอบคลุมอาณาเขตของตัวเมียหลายตัว และจะจับคู่กับตัวเมียในพื้นที่เหล่านั้น กระแตใต้ในแหล่งเพาะเลี้ยงก็มีพฤติกรรมคล้ายกับที่อยู่ในสิงคโปร์ โดยจะมีกระแตใต้ตัวผู้ตัวหนึ่งที่มีอำนาจสูงสุดและได้ครองครองตัวเมียทั้งหมดกระแตใต้ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน คาบการติดสัดยาวประมาณ 8-39 วัน ตั้งท้องนาน 40-52 วัน มีหัวนมสี่หัว ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว ลูกแรกเกิดหนัก 10-12 กรัม หูเปิดเมื่ออายุได้ 10 วัน ตาเปิดเมื่ออายุได้ 20 วัน เมื่ออายุได้ 36 วันจึงออกจากรังได้แล้วหย่านมได้ กระแตใต้ทั้งตัวเมียและตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 3 เดือน กระแตสาววัยเพียง 4 เดือนครึ่งก็เป็นแม่กระแตได้แล้ว

พฤติกรรมแปลกด้านการเลี้ยงลูกของกระแตใต้

อย่างหนึ่งก็คือ พ่อกระแตจะสร้างรังสองรังแยกกัน รังหนึ่งสำหรับให้พ่อแม่นอน อีกรังหนึ่งให้ลูกนอน รังอาจเป็นโพรงไม้ ใต้รากไม้ กระบอกไม้ไผ่ พื้นรังกรุด้วยใบไม้แห้งแม่กระแตใต้ใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยมาก แม่กระแตจะอยู่ในรังเพื่อให้นมลูกเพียง 10-15 นาที แล้วก็หายไปนานถึง 48 ชั่วโมง แล้วจึงกลับมาให้นมอีกรอบหนึ่ง การให้นมแต่ละครั้งลูกกระแตจะได้รับนมประมาณ 5-15 กรัมที่อุดมไปด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมเวลาที่แม่ได้อยู่กับลูกตลอดระยะเวลาช่วงทารกสั้นเพียงชั่วโมงครึ่งเท่านั้นในธรรมชาติ กระแตใต้มีอายุขัยประมาณ 2-3 ปี ตัวที่อายุยืนที่สุดในแหล่งเพาะเลี้ยงที่เคยบันทึกไว้คือ 12 ปี 5 เดือนปัจจุบันยังพบกระแตใต้ได้ทั่วไปในเขตกระจายพันธุ์ แม้จำนวนประชากรโดยรวมจะลดลง แต่ก็ยังถือว่าไม่เสี่ยงสูญพันธุ์ ไอยูซีเอ็นประเมินว่าอยู่ในสถานะมีความเสี่ยงน้อย (2560)  พฤติกรรมแปลกด้านการเลี้ยงลูกของกระแตใต้

นอกจากนี้การที่กระรอกกระแตเข้าใกล้มนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ก็มีโอกาสสูงมากที่มันจะกลายเป็น ‘พาหะ’ นำปรสิตหรือเชื้อโรคต่างๆ มาติดสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในชุมชน เช่น เชื้อรา Ringworm ที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก และเชื้อแบคทีเรียตระกูล Typhus ที่เป็นตัวการของไข้รากสาดใหญ่ขณะเดียวกัน คนดูแลสวนในมหาวิทยาลัยก็บ่นเหมือนกันว่า พอประชากรกระรอกกระแตมีเยอะ แล้วมีช่วงที่คนไม่ได้มาให้อาหาร พวกมันก็จะหันไปหาหน่ออ่อนของดอกไม้ต้นไม้ที่คนพยายามปลูกเอาไว้อย่างดี ทำให้พืชสวนหลายชนิดถูกทำลายไปไม่น้อยเหมือนกัน  กระแต สัตว์