พฤติกรรม สัตว์ พฤติกรรมของสัตว์ (Animal Behavior) หมายถึง การกระทำและการแสดงออกของสัตว์ที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และฮอร์โมนภายในร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น (Stimulus) ทั้งสิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น ความหิว ความเครียด หรือความต้องการทางเพศ และสิ่งเร้าภายนอก เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้น และการสัมผัสโดยตรงจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ โดยการตอบโต้สิ่งเร้าอาจแสดงออกในรูปของพฤติกรรมการกิน การนอน การต่อสู้ หรือแม้แต่การช่วยเหลือกันภายในกลุ่มสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างมีแบบแผนในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป ทั้งการตอบสนองอย่างเฉียบพลันและการตอบสนองในระยะยาวในฝูงอาจมีเพศผู้เพียงตัวเดียว แต่ปลานีโมนั้นมีความโดดเด่นที่ต่างกันออกไป นอกจากจะอยู่รวมกันเป็นฝูงเเล้ว หากฝูงนั้นขาดเพศเมียไป เพศผู้ที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุดก็จะเปลี่ยนเพศตัวเองให้กลายเป็นเพศเมียเพื่อผสมพันธุ์เเละออกไข่รุ่นต่อไป
ซึ่งการแสดงออกหรือพฤติกรรมส่วนใหญ่ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอยู่รอดและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ (Fitness) เช่น พฤติกรรมการเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูงสุด หรือการเลือกคู่ผสมพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อให้รุ่นต่อไปมีโอกาสรอดชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปสูงสุดหากพูดถึงธรรมชาติในหลายครั้งเราอาจจะนึกถึงป่าสีเขียวชอุ่ม สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยกระโดดไปมา หรือเเม้กระทั่งดอกไม้สีสดที่กำลังเบ่งบานในฤดูใบไม้ผลิ แต่ถ้าในความเป็นจริงเเล้วธรรมชาติไม่ได้สวยงามอย่างที่เราคิดจะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ผู้เขียนเลยจะพาเหล่านักอ่านไปส่อง พฤติกรรมสุดแปลกของสัตว์โลกที่โชว์ให้เห็นว่าโลกอาจไม่สวยงามอย่างที่คิด
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม พฤติกรรม สัตว์
พฤติกรรม สัตว์ 1. สิ่งเร้า (Stimulus) หมายถึง ตัวกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตตอบสนองออกมาในเชิงการกระทำ หรือก่อให้เกิดแรงจูงใจต่าง ๆ (Motivation)
2. กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (Releasing Mechanism) หมายถึง วงจรกระแสประสาทและหน่วยรับความรู้สึกที่ไวต่อตัวกระตุ้น โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสามารถรับแรงกระตุ้นจากสิ่งเร้าที่ต่างกันไปตามวิวัฒนาการทางสรีรวิทยา ส่งผลให้พฤติกรรมและการแสดงออกที่เกิดขึ้นมีทั้งข้อจำกัดและผลของการปลดปล่อยที่ไม่เหมือนกัน
พฤติกรรมของสัตว์สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Innate behavior) คือ พฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นผลจากพันธุ์กรรมและเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง หรือการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งสัตว์สามารถแสดงออกและตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการเรียนรู้หรือมีประสบการณ์มาก่อน ดังนั้น การแสดงออกจึงมีแบบแผนเดียวกัน (Stereotype) ตามลักษณะเฉพาะของสัตว์แต่ละชนิดและส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากความซับซ้อน เช่น การสร้างรังของผึ้ง หรือการคุ้ยเขี่ยดินเพื่อหาอาหารของไก่
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยปราศจากทิศทางที่แน่นอน (Kinesis Response) คือ การเคลื่อนที่เข้าหาหรือหลีกหนีจากสิ่งเร้า โดยมีทิศทางที่ไม่สัมพันธ์กันและปราศจากความแน่นอน มักพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ได้ และพวกโพรทิสต์ (Protist) ซึ่งมีหน่วยรับความรู้สึกที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
2. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยมีทิศทางที่แน่นอน (Taxis Response) คือ การเคลื่อนที่เข้าหาอย่างมีจุดมุ่งหมายแน่นอน ทั้งการเคลื่อนที่เข้าหาหรือหลีกหนีออกห่างจากสิ่งเร้า มักพบในสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึกที่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะสามารถรับรู้และเปรียบเทียบสิ่งเร้าได้ เช่น การเคลื่อนที่เข้าหาแสงไฟของแมลงเม่า หรือการเคลื่อนที่ตามเสียงสะท้อนของค้างคาว
3.การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างทันทีทันใด (Reflex Response) คือ การเคลื่อนที่ตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยไม่ผ่านการตัดสินใจ เพื่อหลีกหนีอันตราย ซึ่งเป็นการทำงานของวงจรประสาทอย่างง่ายที่รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ก่อนส่งสัญญาณไปยังหน่วยปฏิบัติงาน เช่น การยกเท้าหนีเมื่อเหยียบลงบนหนามแหลม การถอยหนีจากความร้อน หรือ การจาม เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ
นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมการตอบสนองอย่างต่อเนื่อง (Chain of Reflexes) ที่กลายเป็น “สัญชาตญาณ” (Instinct) หรือพฤติกรรมในระยะยาวจากการรวมกันของพฤติกรรมการตอบสนองย่อยจำนวนมาก เช่น การชักใยของแมงมุม การจำศีล และการอพยพย้ายถิ่นของนก เป็นต้น
พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning behavior) คือ พฤติกรรมการแสดงออกที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ในอดีต ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมเหล่านี้มักพบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญแล้ว โดยสัตว์แต่ละชนิดมีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป
พฤติกรรมการเรียนรู้สามารถแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ
- พฤติกรรมตามความเคยชิน (Habituation) เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของสัตว์ที่เกิดขึ้นจากการทำซ้ำเป็นระยะเวลานาน
- พฤติกรรมจากการเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting) จากสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต (Critical Period) ซึ่งสำคัญพอที่จะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมฝังใจ เช่น การเดินตามหลังแม่ของลูกเป็ดหลังฝักออกจากไข่
- พฤติกรรมจากการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Classical Conditioning) การเรียนรู้ที่จะนำสิ่งเร้าใหม่เข้าไปทดแทนสิ่งเร้าเดิม รวมถึงการตอบสนองจากการลองผิดลองถูก (Operant Conditioning/Trial And Error) ที่เรียนรู้การเชื่อมโยงพฤติกรรมหนึ่งกับประโยชน์หรือโทษที่ได้รับ
- พฤติกรรมจากการเรียนรู้ผ่านการใช้เหตุผล (Insightful learning) ผ่านการเรียนรู้และนำข้อมูลที่เคยประสบมาใช้ตอบสนองในสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน
- พฤติกรรมจากการลอกเลียนแบบ (Observational learning) จากการเฝ้าดูพฤติกรรมของสัตว์อื่นและเรียนรู้ที่จะทำตาม
- การเรียนรู้ทางพื้นที่และมิติต่าง ๆ (Spatial Learning & Cognitive Map Learning) การคิดประมวลข้อมูลทางด้านมิติและพื้นที่ เช่น การจดจำภูมิประเทศและลักษณะเด่น รวมถึงความเข้าใจทางมิติหรือความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม
พฤติกรรมจากการเรียนรู้เป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึกฝนเฉพาะตน ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้น สัตว์แต่ละตัวมีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไปตามอายุและสภาพทางสรีรวิทยาของร่างกาย พฤติกรรม สัตว์