สัตว์ สงวน ในประเทศไทย

สัตว์ สงวน

หัวข้อแนะนำ

สัตว์ป่าสงวน  หมายความว่า สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์จำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562ประเทศไทยเริ่มมีสัตว์ป่าสงวน กำหนดไว้ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติที่เข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขายต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526 ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกอันดับที่ 80 ได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม

โดยตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึงสัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไข หรือเพิ่มเติมเท่านั้น โดยไม่ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติเดิม ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด คือ สมเสร็จ เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน พะยูน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแร้วท้องดำ และนกกระเรียนไทย และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มากจำนวน 1 ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด คือ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา และกวางผา รวมเป็น 15 ชนิด ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์น้ำเป็นสัตว์สงวน 4 ชนิด คือ วาฬบรูดา วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง และปลาฉลามวาฬ และได้มีการพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 รวมสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 19 ชนิด ได้แก่

สัตว์ สงวน

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ สงวน

1. กระซู่ (Didermocerus Samatraensis) สัตว์ป่าสงวน
2. กวางผา (Naemorhedus griseus)
3. กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
4. เก้งหม้อ (Muntiacus feae)
5. ควายป่า (Bubalus bubalis)
6. พะยูนหรือหมูน้ำ (Dugong dugon)
7. แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
8. แรด (Rhinceros sondaicus)
9. ละองหรือละมั่ง (Cervus eldi)
10. เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ (Capriconis sumatraensis)
11. วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
12. วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai)
13. สมเสร็จ (Tapirus indicus)
14. สมันหรือเนื้อสมัน (Cervus schomburgki)  สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์ป่าจำพวกนก

15. นกกระเรียน (Grus antigone)
16. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
17. นกแต้วแร้วท้องดำ (Pitta gurneyi)  สัตว์ป่าจำพวกนก

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน

18. เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)

สัตว์ป่าจำพวกปลา

19. ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)

สัตว์ป่าจำพวกปลา  เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ นกชนหิน (Rhinoplex Vigil) โดยจะเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เนื่องจากนกชนหินเป็นสัตว์ป่าหายาก ใกล้สูญพันธุ์ จึงจำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด โดยนกชนหินเป็นนกเงือก 1ใน 13 ชนิดของไทย มีการกระจายเฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงจังหวัดนราธิวาส พบเป็นกลุ่มขนาดเล็กในป่าดิบชื้นระดับต่ำ โดยมีกลุ่มประชากรหลักอยู่ในอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง

ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรทราบมีดังนี้

●สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
●ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าชนิดใด ห้ามล่าสัตว์ เก็บรัง ครอบครองที่ดิน แผ้วถาง หรือเปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
●ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
●ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
●ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
●การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
●ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน  สัตว์ป่าสงวน